กองทุนตั้งตัวได้ (ครั้งที่ 2)
(Authorized Business Incubators)
หลักการและเหตุผล
รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างวิสาหกิจนวัตกรรมและแนวทางเศรษฐกิจใหม่ โดยนโยบายข้อ 1.10.3 กำหนดว่าจะต้องจัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้เพื่อสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารและกองทุนตั้งตัวได้ โดยร่วมกับ "หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ" ในสถาบันการศึกษา พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศิษย์เก่าที่จบไปแล้วไม่เกิน 5 ปี ให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ
นักศึกษา/ศิษย์เก่าสามารถสมัครเข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ในหน่วย ABI (Authorized Business Incubators) ที่เป็นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและทำหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเป็นพี่เลี้ยงพัฒนานักศึกษา/ศิษย์เก่าให้เป็นผู้ประกอบการที่มีธุรกิจนวัตกรรม/ความคิดสร้างสรรค์ สามารถจัดทำแผนธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารและกองทุนตั้งตัวได้
วัตถุประสงค์
1) สร้างผู้ประกอบการรายย่อยรายใหม่ ที่มาจากนักศึกษาหรือผู้ที่จบการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปี เพิ่มเติมสำหรับเศรษบกิจใหม่ของประเทศไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านรายใน 20 ปี เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
2) สร้างธุรกรรมสมัยใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในการเกิดผู้ประกอบการ รวมถึงการจ้างงานในธุรกิจขนาดย่อม
3) สร้างโอกาสความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับนักศึกษาผู้ประสงค์ที่จะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศ
4) สร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาไทย เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
หลักการพิจารณาการให้กู้ยืมเงิน
การพิจารณาการให้กู้ยืมกองทุนตั้งตัวได้แก่โครงการพัฒนาธุรกิจใหม่ของผู้ที่สนใจ โดยร่วมกับธนาคารที่มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ABI นั้น มีเกณฑ์ว่าแผนธุรกิจและแผนการเงินต้องผ่านความเห็นชอบของสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้และธนาคารทั้งสององค์กร
- ธนาคาร จะให้กู้ 2 ส่วน ในอัตราดอกเบี้ยของธนาคารไม่เกิน MRR + 2%
- สำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ จะให้กู้ 1 ส่วน ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% โดยกองทุนฯ จะให้กู้ยืมไม่เกิน 1 ล้านบาท
- ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดย บสย. ค้ำประกันให้ มีค่าธรรมเนียมร้อยละ 2.50 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน ((ปีแรกรัฐชดเชยให้ 1.75% SMEs ชำระเพียง 0.75%)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้า " กองทุนตั้งตัวได้ "
1) เป็นบุคคลสัญชาติไทย
2) เป็นนักเรียนระดับอาชีวศึกษา หรือนิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปี
3) มีความคิดริเริ่ม ต้องการเป็นผู้ประกอบการ
4) ธุรกิจของผู้ประกอบการต้องมีโอกาสที่จะสำเร็จพอสมควร
ขั้นตอนการเข้ากองทุนตั้งตัวได้
ก้าวทีผ่าน....
ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1
หน่วย
ABI มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นหน่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์
เพื่อเป็นฐานให้กับประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านแฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มประเทศอาเซียน
และสามารถเทียบเคียงกับประเทศที่โดดเด่นเรื่องแฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ โดยมีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรระดับประเทศและระหว่างประเทศในการพัฒนาผู้ประกอบการ
เช่น ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (SHARE) สนับสนุนการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย
ร่วมมือกับสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย (Thai Lifestyle Products Federation, TLPF) ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะเชิงสร้างสรรค์และเพิ่มศักยภาพในทางธุรกิจ ในการแสวงหาช่องทางการตลาดในต่างประเทศ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานการณ์จริงด้านการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
(The Support Art and Crafts International Centre of Thailand, SACICT) ดำเนินโครงการบ่มเพาะเชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มหัตถกรรม เพื่อยกระดับสินค้าให้เป็นผู้ส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ในอนาคต
และร่วมมือกับกลุ่มหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะพัฒนาสินค้าหัตถกรรมเพื่อเข้าสู่ตลาดโรงแรม
เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม
ABI มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็มิได้ละเลยผู้ประกอบการสาขาอื่นที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญรองลงมา
เช่น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจ IT และธุรกิจการให้บริการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยทำการเปิดสอนและเป็นหน่วยให้บริการแก่ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังนั้นข้อเสนอ “โครงการกิจกรรม ABI (Authorized
Business Incubators) สาธิต เพื่อคัดกรองนักศึกษาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557” นี้จะครอบคลุมการอบรมบ่มเพาะกลุ่มนักศึกษา/ศิษย์เก่าและผู้ประกอบการจำนวน
3 กลุ่มหลัก ได้แก่
·
กลุ่มแฟชั่น ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์และหัตถกรรม
·
กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม
อาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
·
กลุ่มการท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจบริการต่างๆ
โครงสร้างการดำเนินงานของหน่วย ABI มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น
ดำเนินงานในรูปคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ (เซียน) สาขาต่างๆ
โดยมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในสาขาอาชีพนั้น ได้แก่
อาจารย์ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ นักกฎหมาย
และเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินหรือธนาคาร
เพื่อกำกับดูแลและคอยให้คำปรึกษาการดำเนินงานของ ABI ตลอดจนดูแลผู้ประกอบการให้สามารถจัดทำแผนธุรกิจและแผนการเงินที่มีคุณภาพ
สามารถยื่นกู้ต่อธนาคารและสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขามีบทบาทดังนี้
· ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอาจารย์จะให้คำแนะนำในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี
เช่น กระบวนการผลิตที่ทันสมัย การผลิตที่ได้รับคุณภาพมาตรฐานตามหลักสากล
และกระบวนการผลิตที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และการจัดทำแผนธุรกิจ
· ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ประกอบการจะคอยให้คำแนะนำเรื่องการบริหารจัดการ
เช่น ความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ การจัดโครงสร้างองค์กร การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ
มาใช้ กลยุทธ์การตลาด การตั้งราคา โอกาสในกาเข้าสู่ตลาด
การสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์
และการใช้เครือข่ายออนไลน์ในการเพิ่มช่องทางการตลาด และการป้องกันความเสี่ยง
· ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายจะให้คำแนะนำเรื่องกฎหมายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ เช่น กฎหมายทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา และภาษี
· ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการเงินหรือธนาคารจะให้คำแนะนำเรื่อง
การวิเคราะห์โครงสร้างการลงทุน การหาแหล่งทุน การพยากรณ์ยอดขาย
การพยากรณ์ความเป็นไปได้ทางการเงิน การวิเคราะห์กำไรขาดทุน การวิเคราะห์กระแสเงินสด อัตราส่วนทางการเงิน
เพื่อจัดทำแผนการเงินเพื่อยื่นกู้ต่อธนาคารและสำนักงานกองทุนฯ
เมื่อผู้ประกอบการสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารและสำนักงานกองทุนฯ
ได้แล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิหรือเซียนต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ติดตามตรวจสอบ
เตรียมการแก้ไขปัญหาการดำเนินธุรกิจของนักศึกษาผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรทุน
และจัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่อสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
ในการดำเนินโครงการกิจกรรม ABI (Authorized
Business Incubators) สาธิต เพื่อพัฒนาและคัดกรองนักศึกษาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง
ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 นี้ กิจกรรมประกอบด้วย
·
การเปิดรับสมัครนักศึกษาและศิษย์เก่าที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
·
การกำหนดผู้เชี่ยวชาญ และ Screening Committee
·
การสัมภาษณ์ผู้สมัคร
และตรวจสอบ Business
Idea/Model รายบุคคล เพื่อคัดเลือกเข้าโครงการ
·
การประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ
·
การฝึกอบรมผู้เข้าร่วมโครงการ
·
ผู้เข้าร่วมโครงการนำเสนอแผนธุรกิจและแผนการเงินต่อ
Screening
Committee
·
ประกาศผลการคัดกรองแผนธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์
·
จัดทำรายงานผลการฝึกอบรมและการจัดทำ/
พัฒนาแผนธุรกิจของผู้เข้าร่วมโครงการ
·
ประกาศผลการแผนธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์
· ผู้เข้าร่วมโครงการเสนอแผนธุรกิจเพื่อขออนุมัติสินเชื่อต่อธนาคารสาขาในพื้นที่ที่ผู้เข้าร่วมโครงการต้องการรับสัญญากู้ยืมเงิน
· นำส่งเอกสารแผนธุรกิจ แผนการเงิน หลักฐานบุคคล
และเอกสารอนุมัติเงินกู้ยืมของธนาคาร เสนอต่อสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้
เพื่อขอรับสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1 ใน 3 ของวงเงินกู้ยืมให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
·
จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ
และนำส่งหลักฐานแผนธุรกิจและแผนการเงินของผู้เข้าร่วมโครงการ
จากการดำเนินโครงการกิจกรรม ABI สาธิต
รุ่นที่ 1 ของหน่วย SU -ABI นั้น มีผลสำเร็จตามเป้าหมาย
คือมีผู้สมัครจำนวน 50 ราย
และหน่วย SU -ABI
ได้สัมภาษณ์และคัดเลือกผู้สมัครให้เข้าโครงการจำนวน 30 ราย
(สำรอง 5 ราย) ซึ่งผลการดำเนินโครงการอบรม ABI สาธิต รุ่นที่
1
นั้นมีนักศึกษาผู้ประกอบการที่สามารถจัดทำแผนธุรกิจได้จำนวน 32 ราย และผ่านเกณฑ์ประเมินจาก Screening
Committee จำนวน 25 ราย
ซึ่งในขณะนี้ นักศึกษาผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน
สามารถได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร จำนวน 2 ราย
และผ่านการพิจารณาจากฝ่ายสินเชื่อของกองทุนตั้งตัวได้จำนวน 6 ราย
หลังจากโครงการกิจกรรม ABI สาธิต
รุ่นที่ 1 หน่วย SU -ABI ยังคงดำเนินการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรสนับสนุนเรื่องธุรการ
และการกำหนดผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านผู้สมัครที่หน่วย ABI
มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้จัดทำแผนธุรกิจเบื้องต้น
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการอบรมแบบติวเข้มจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
หน่วย ABI มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถดำเนินโครงการกิจกรรม ABI (Authorized
Business Incubators) สาธิตเพื่อพัฒนาและคัดกรองนักศึกษาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง
ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 บรรลุตามเป้าหมายที่สำงานกองทุนตั้งตัวได้ตั้งไว้
รายละเอียดเพิ่มเติม pdf
No comments:
Post a Comment